เมนู

[2084] 2. พหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธาธรรม ด้วย
อำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพหิทธาธรรม ที่เกิดก่อนๆ เท่านั้น ที่ต่างกัน
จากนั้นมีอธิบายตามบาลีข้างต้นนั้นเอง.

5. สมนันตรปัจจัย ฯลฯ 8. นิสสยปัจจัย


[2085] 1. อัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตธรรม ด้วย
อำนาจของสมนันตรปัจจัย
เหมือนกับ อนันตรปัจจัย.
เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัย ด้วยอำ-
นาจของอัญญมัญญปัจจัย เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย


9. อุปนิสสยปัจจัย


1. อัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตธรรม ด้วยอำนาจ
ของอุปนิสสยปัจจัย.

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาที่เป็นอัชฌัตตธรรมแล้ว ให้ทาน ฯลฯ
สมาทานศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ ยังฌาน ฯลฯ ยังวิปัสสนา ฯลฯ ยังมรรค
ฯลฯ ยังอภิญญา ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ก่อมานะ ถือทิฏฐิ.
บุคคลเข้าไปอาศัยศีลที่เป็นอัชฌัตตธรรม ฯลฯ ปัญญา ราคะ ฯลฯ
ความปรารถนา สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย อุตุ โภชนะ เสนาสนะแล้ว ให้ทาน
ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์.